Preventive maintenance คือ ? ดีกับโรงงานอย่างไร

Preventive maintenance

Preventive maintenance หรือ เรียกสั้นๆว่า PM คือการบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นประจำ ตามเวลาที่มีการกำหนดเอาไว้ เพื่อให้เครื่องจักรทำงานต่อไปได้ และป้องกันการหยุดทำงานของเครื่องจักรโดยไม่คาดคิด ซึ่งการ Down Time ของเครี่องจักร 1 ครั้ง อาจเกิดความเสียหายหลายแสนบาท เพื่อป้องกัน โรงงานจะทำ PM โดยหยุดการทำงานของเครื่องจักรทุก 1 หรือ 2 ปี เป็นเวลา 1 ถึง 2 สัปดาห์เพื่อตรวจสภาพเครื่องจักร รวมทั้งการบำรุงและเปลี่ยนชิ้นอะไหล่ เช่น เปลี่ยนตลับลูกปืน ถ่ายน้ำมันเครื่อง อัดจารบี

ข้อดีและข้อเสียของ PREVENTIVE MAINTENANCE

ข้อดี

1. ยืดอายุขัย

เมื่อมีการเข้าไปตรวจสอบ ดูแล รักษาเครื่องจักรอย่างถูกต้องเป็นประจำ ในขณะที่เครื่องจักรยังสามารถทำงานได้อยู่ โดยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายใหญ่ต่อชิ้นส่วนสำคัญ เครื่องจักรจะไม่ breakdown ก่อนอายุขัยที่ควรจะเป็นหากใช้เครื่องจักรอย่างถูกวิธี

2. รักษาประสิทธิภาพ

การบำรุงรักษาที่ไม่ดีสามารถลดกำลังการผลิตของบริษัทได้ถึง 20% หรือมากกว่านั้น เมื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดในการบำรุงรักษา คุณจะป้องกันไม่ให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง รวมทั้งลดอัตราการ down time ของเครื่องจักร

3. ลดต้นทุน

หากตรวจสอบความเสียหายแต่เนิ่นๆ สิ่งที่มักจะเสียและต้องเปลี่ยนอย่างมากก็จะเป็นพวกสายพาน ตลับลูกปืน จาระบี หรืออะไหล่อื่นๆบางส่วน แต่ถ้าปล่อยให้เครื่องจักรที่มีอะไหล่บางส่วนชำรุดทำงานโดยที่ไม่มีการตรวจสภาพเป็นเวลานานๆเข้า จะส่งผลต่อเครื่องจักรโดยรวม ทำให้ค่าซ่อมแซมหรืออะไหล่สำคัญที่มีราคาสูง รวมไปจนถึงซื้อเครื่องจักรใหม่

4. ลดการใช้พลังงาน

เปรียบเทียบกับตู้เย็นเก่าที่ไม่ได้รับการดูแล ไม่มีการเปลี่ยนอะไหล่หรือซ่อมแซม มักจะใช้พลังงานมากกว่าตู้เย็นตัวเดียวกันที่พึ่งถูกเริ่มใช้งาน

ข้อเสีย

1. เสียเวลา

การทำ PM อาจใช้เวลานานขึ้นอยู่กับจำนวน และความซับซ้อนของเครื่องจักร  และในบางครั้งที่เครื่องจักรยังทำงานได้สมบูรณ์แบบ แต่คุณก็ต้องหยุเครื่องจักรเพื่อส่งคนเข้าไปเช็ค ทำให้บางคนอาจละเลยต่อการตรวจสอบ บำรุง และรักษาตามเงื่อนไขที่โรงงานได้วางไว้

2 ใช้ทรัพยากรหมุษย์เยอะ

หากโรงงานที่มีเครื่องจักรที่เยอะและหลากหลายประเภท อาจจะต้องใช้พนักงานที่มีความรู้ความเข้าใจ หรือมีประสบการณ์ทำให้อาจจะต้องจ้างบุคลากรเพิ่ม หรือ จ้างผู้เชี่ยวชาญภายนอกเข้ามาช่วยจัดการ

3.ข้อมูลไม่ Real-Time

การทำ PM จะเน้นไปที่ช่วงระยะเวลา ทำให้การบำรุงรักษาเครื่องจักรบางประเภท ช้าเกินไป หรือเร็วเกินไป อีกทั้งยังไม่สามารถป้องกันกรณีเครื่องจักรเสียหายแบบไม่คาดคิดได้ด้วย

รูปแบบการทำ Maintenance อื่นๆ

Reactive Maintenance

การบำรุงรักษาเชิงรับ (Reactive Maintenance) เป็นการรอให้เครื่องจักรพัง หรือชำรุดเสียก่อน ถึงมีการซ่อมแซม การรักษาประเภทนี้จะมีค่าเสียโอกาสและค่าซ่อมที่สูงมากเนื่องจากหากผ่านไปนานๆ เครื่องจักรที่ไม่ได้มีการบำรุงรักษาจะมีโอกาสพังพร้อมกันสูง

Predictive Maintenance

การบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ (Predictive Maintenance) หรือ เรียกสั้นๆว่า PdM เป็นรูปแบบการบำรุงรักษาขั้นสูงกว่า Preventive Maintenance คือการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบวัดความถี่(vibration analysis) ไว้ที่เครื่องจักร และส่งข้อมูลไปโชว์บนจอมอนิตเตอร์ผ่านระบบ Wifi เพื่อแสดงผลแบบเรียลไทม์ โดยจะมีการวิเคราะห์ความเสียหายและสาเหตุของปัญหา โดยจะแสดงเป็นกราฟ และวิเคราะออกมาเป็น รีพอร์ท ทำให้สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าว่าชิ้นส่วนไหนจะต้องบำรุงรักษาอย่างไร ทำให้ลดการทำงานของบุคลากรในการเช็คสภาพเครื่องจักรที่ไม่จำเป็น