โซ่ส่งกำลังทำงานอย่างไร และ มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ?
โซ่ส่งกำลังทำงานอย่างไร ?
โซ่ส่งกำลัง คือ อุปกรณ์ที่มีการถ่ายทอดกำลังจากชุดขับ (ต้นกำลัง) ไปยังชุดตาม (รับกำลัง) เพื่อถ่ายทอดหรือส่งกำลังไปยังในการขับเคลื่อนชิ้นส่วนหรือตัวเครื่องจักร โซ่ส่งกำลังจะต้องมีการทำงานคู่กับเฟืองโซ่ (Sprockets) ซึ่งจะยึดอยู่กับเพลาด้านขับและตาม
ระบบส่งกำลังของโซ่-เฟือง ต่างจาก สายพาน-มูเล่ย์ อย่างไร?
การใช้งานของชุดโซ่-เฟือง เหมาะกับการทำงานที่ความเร็วรอบต่ำหรือเป็นจุดที่ผ่านการทดรอบมาแล้วเช่นผ่านเกียร์ทดมาแล้ว เนื่องจากมีแรงบิดสูง แต่ไม่ได้หมายความว่าที่รอบสูง ชุดโซ่-เฟือง จะไม่สามารถทำงานได้ แต่เพราะราคาที่สูง และ เสียงที่ดังมากหากเทียบกับสายพานด้วยขนาดเท่ากัน ส่วนชุดมูเล่ย์+สายพาน ไม่สามารถรองรับหรือส่งกำลังได้เยอะเท่าชุดโซ่+เฟือง ด้วยโครงสร้างและรูปแบบของโซ่ลำเลียงนั้นแข็งแรงมากส่วนประกอบหลักของโซ่
- แผ่นประกบด้านใน (Outer Plate) ทำหน้าที่รับแรงดึง (Tensile Strength) และรองรับแรงกระชากที่เกิดในขณะทำงาน
- แผ่นประกบด้านนอก (Outer Plate) ทำหน้าที่รับแรงดึง (Tensile Strength) และรองรับแรงกระชากที่เกิดในขณะทำงาน นอกจากนั้นยังเป็นตัวเชื่อมระหว่างโซ่แต่ละข้อ
- สลัก (Pin) ทำหน้าที่รับแรงเฉือน (Shearing strength) และแรงบิด (Bending strength) ที่ถูกถ่ายเทมาจากแผ่นประกบด้านในและด้านนอก อีกทั้งยังรองรับแรงร่วมกับบุช ขณะเคลื่อนที่อยู่บริเวณร่องของฟันเฟือง ดังนั้นสลักที่ใช้งานตรงจุดนี้ต้องมีความแข็งแรงสูงมากเพื่อให้สามารถรับแรงเฉือน, แรงบิด, แรงดึง และแรงกระชาก
- โรลเลอร์ (Roller) เป็นส่วนที่รองรับแรงกดและแรงกระแทก เมื่อโซ่วิ่งเข้าไปในเฟืองโซ่
- บุช (Bush) เป็นชิ้นส่วนที่รับแรงมาจากหลายๆ ชิ้นส่วนของโซ่