สวิตช์ คืออะไร และมีกี่แบบ ?

สวิตช์ไฟฟ้า (Electrical Switch) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่มีหน้าที่ในการควบคุมการเปิด-ปิดของวงจรไฟฟ้า โดยอนุญาตหรือป้องกันการไหลของกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ปลายทาง เช่น หลอดไฟ เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า หรือมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สวิตช์ไฟฟ้าไม่ได้มีเพียงชนิดเดียว แต่มีอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบถูกออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะงานและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน การเลือกใช้สวิตช์ให้เหมาะสมจึงมีผลต่อประสิทธิภาพ ความสะดวก และความปลอดภัยในการใช้งานระบบไฟฟ้าอย่างมาก ซึ่งกลไกการทำงานของสวิตช์ไฟฟ้า
( Electrical Switch ) จะขึ้นอยู่กับ หน้าสัมผัส (Contact Points) ภายในตัวสวิตช์ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนหลักที่ทำหน้าที่ในการ เชื่อมต่อ (ปิดวงจร) หรือ แยกออกจากกัน (เปิดวงจร) ของกระแสไฟฟ้า การเปลี่ยนแปลงของสถานะวงจรนี้จะเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้ใช้งาน เช่น การกดปุ่ม, โยกคัน, หมุน หรือแม้แต่การเหยียบสวิตช์ โดยกลไกทางกายภาพเหล่านี้จะควบคุมให้หน้าสัมผัสทำงานตามต้องการ
สวิตซ์ไฟฟ้าแบบต่างๆ
สวิตช์สวิตช์ไฟฟ้า (Electrical Switch) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่มีหน้าที่ในการควบคุมการเปิด-ปิดของวงจรไฟฟ้า โดยอนุญาตหรือป้องกันการไหลของกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ปลายทาง เช่น หลอดไฟ พัดลม หรือมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สวิตช์ไฟฟ้าไม่ได้มีเพียงชนิดเดียว แต่มีอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบถูกออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะงานและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน การเลือกใช้สวิตช์ให้เหมาะสมจึงมีผลต่อประสิทธิภาพ ความสะดวก และความปลอดภัยในการใช้งานระบบไฟฟ้าอย่างมาก
สวิตช์โยก
สวิตช์แบบก้านยาว (Toggle Switch) เป็นสวิตช์ที่เวลาใช้งานต้องโยกก้านสวิตช์ไปมาโดยมีก้านสวิตช์โยกยื่นยาวออกมาจากตัวสวิตช์ การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยโยกก้านสวิตช์ให้ขึ้นบนหรือลงล่าง ในการโยกก้านสวิตช์ขึ้นมักจะเป็นการต่อ (ON) และโยกก้านสวิตช์ลงมักจะเป็นการตัด (OFF)

สวิตช์ลูกลอย
สวิทซ์ลูกลอย หรือ Float Switch ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้วัดระดับน้ำในภาชนะ โดยแบบสายเคเบิ้ล หรือ Cable Type Float Switch จะเป็นสวิทช์ลูกลอยแบบสายเคเบิ้ลที่ราคาประหยัด ออกแบบมาใช้สำหรับหย่อน หรือ จุ่มลงในบ่อหรือถัง น้ำ หรือ น้ำเสีย หรือ ของเหลวอื่นๆ เพื่อใช้ในการเตือน หรือ ควบคุมระดับของเหลวนั้นๆ ร่วมกับรีเลย์ หรือ ส่งสัญญาณที่เป็นลักษณะของสวิทช์ไปเข้าระบบ PLC เพื่อควบคุมปั๊ม ในปัจจุบัน

สวิตซ์ปุ่มกด
สวิตช์ปุ่มกด เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการนำมาใช้งานร่วมกับระบบควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าหรือติดตั้งไว้ภายในตู้ เพื่อควบคุมวงจรไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยหลักการทำงาน จะใช้นิ้วมือกดที่ปุ่ม เป็นการควบคุมให้ระบบทำงานและหยุดทำงานได้ทันที ซึ่งลักษณะรูปแบบของปุ่มกดแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างที่สำคัญคือหน้าสัมผัส เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าที่อยู่ภายใน

สวิทช์ใบพาย
สวิทช์ใบพาย หรือ โฟลว์สวิทช์ (Flow Switch) เป็นสวิทช์ เปิด ปิด ที่ติดตั้งไว้กับท่อ เพื่อตรวจจับการไหลของน้ำหรือของไหลในท่อ เมื่อมีของไหลผ่านจะทำให้หน้าสัมผัส (Relay Contact) ของสวิทช์ทำงาน โดยหน้าสัมผัสมีทั้งแบบปกติปิด (NC) และแบบปกติเปิด (NO) ต่อใช้งานในการควบคุมการไหลเพื่อคุมปั๊ม เช่น ใช้สำหรับตรวจจับการไหลของน้ำในการป้องกันปั๊มน้ำไม่ให้เดินตัวเปล่า เนื่องจากจะทำใหปั๊มน้ำเกิดความเสียหาย (Run Dry)

สวิทช์แสงแดด
สวิทช์แสงแดด (Photo Control Switch) คือสวิทช์ที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยแสงแดดให้อุปกรณ์ไฟฟ้าทำงานก็ต่อเมื่ออยู่ในที่มืดหรือแสงสลัวเท่านั้น ตัวอย่างการใช้งานเช่น ไฟถนน หรือ ไฟรั้วที่ต้องการให้ไฟติดในเวลากลางคืนและไฟดับในเวลากลางวัน การทำงานอย่างอัตโนมัตินี้เพิ่มความสะดวกสบายและประหยัดพลังงาน ให้กับผู้ใช้งานเป็นอย่างยิ่ง

ลิมิตสวิตช์
ลิมิตสวิตช์ หรือ สวิตช์จำกัดระยะ (Limit Switch) คือ อุปกรณ์เปิด/ปิด วงจรไฟฟ้าที่ใช้สำหรับจำกัดระยะทาง และตัด/ต่อ วงจรการทำงานของระบบอัตโนมัติต่างๆ ในงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เพื่อควบคุมการทำงานของระบบอัตโนมัติ และยังใช้ตรวจสอบตำแหน่งของวัตถุว่ามี หรือไม่มี

สวิตช์ใบมีด
สวิตช์ใบมีด นั้นเป็นอุปกรณ์ตัดตอนที่มีทั้งแบบตัดตอนทีละ 1 เฟส และทีละ 3 เฟส และไม่สามารถปลดสับขณะมีกระแสไฟฟ้าไดก

สวิตช์แรงดัน
สวิตช์แรงดัน หรือ Pressure Switch คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมระบบเมื่อความดันเกิดความเปลี่ยนแปลงสูงกว่าหรือต่ำกว่าระดับความดันเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นิยมใช้มากในระบบควบคุมความดันของหม้อไอน้ำ ปั๊มลม ไฮดรอลิค เป็นต้น ถือว่าเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยชนิดหนึ่ง นอกเหนือไปจากวาวล์ระบายความดัน

สวิตช์ฉุกเฉิน
สวิทช์ปุ่มกดฉุกเฉิน หรือ ที่เรียกทั่วไปว่าสวิตช์หัวเห็ด นิยมใช้กับปุ่มหยุดเครื่องจักรกลต่าง ๆ เพื่อรองรับกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น และเมื่อถึงเวลาใช้งาน ทันทีที่เรากดที่ปุ่ม Emergency Switch เครื่องจักรกลทุกอย่างที่มีปุ่ม emergency switch จะหยุดการทำงานในทันที เพื่อปัองกันการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

รีเลย์
รีเลย์ (Relays) คือ สวิตซ์ตัด-ต่อวงจร โดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนมากใช้ในวงจรควบคุมอัตโนมัติ ใช้ในการเปิดและปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ รีเลย์มีส่วนประกอบสำคัญคือ ขดลวด และส่วนของหน้าสัมผัสทำหน้าที่เป็นสวิตช์ คือ เมื่อรีเลย์ได้รับการจ่ายไฟแล้วจะทำให้หน้าสัมผัสติดกันกลายเป็นวงจรปิด ถ้าไม่จ่ายไฟหน้าสัมผัสจะแยกออกจากกันกลายเป็นวงจรเปิดรีเลย์ถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องจักรต่างๆ

สวิตช์แบบหมุน
สวิตช์แบบหมุน (Rotary Switch) หรือเรียกว่าสวิตช์แบบเลือกค่า (Selector Switch) เป็นสวิตช์ที่ต้องหมุนก้านสวิตช์ไปโดยรอบเป็นวงกลม สามารถเลือกตำแหน่งการตัดต่อได้หลายตำแหน่ง มีหน้าสัมผัสสวิตช์ให้เลือกต่อมากหลายตำแหน่ง เช่น 2, 3, 4 หรือ 5 ตำแหน่ง เป็นต้น

สวิตช์ไฟฟ้า ( Electrical Switch ) แต่ละชนิดเหมาะกับงานประเภทไหนบ้าง?
สวิตช์โยก เหมาะกับงานประเภทไหนบ้าง
- งานอุตสาหกรรม / เครื่องจักร ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร เช่น เครื่องตัด, เครื่องเชื่อมมักเป็นสวิตช์โยกขนาดใหญ่และแข็งแรง
- แผงควบคุม (Control Panels) ใช้บนแผงควบคุมระบบไฟ, เครื่องปรับอากาศ, ระบบแสงสว่าง ฯลฯเพราะมองเห็นสถานะได้ชัด และใช้งานง่าย
- รถยนต์ / เรือ / รถมอเตอร์ไซค์ ใช้สำหรับสั่งงานระบบต่างๆ เช่น ไฟฉุกเฉิน, พัดลม, ปั๊มน้ำ แบบโยกเล็กที่มีฝาปิดกันน้ำก็มีเช่นกัน
- อุปกรณ์ DIY และอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในงานสร้างวงจรเล็กๆ เช่น เปิด-ปิดไฟ LED, พัดลม, มอเตอร์
- งานไฟบ้าน (บางกรณี) ไม่ค่อยนิยมในงานบ้านทั่วไป แต่บางแบบใช้ตกแต่งในสไตล์เรโทร หรืออินดัสเทรียลลอฟท์ เหมาะกับคนที่ชอบความคลาสสิกหรือแปลกตา
สวิตช์ลูกลอย เหมาะกับงานประเภทไหนบ้าง
- ปั๊มน้ำในบ้าน ควบคุมการเปิด-ปิดปั๊มน้ำอัตโนมัติ เมื่อระดับน้ำในถังลดลงหรือล้น ช่วยให้ปั๊มทำงานเฉพาะเวลาที่จำเป็น ป้องกันการทำงานเกินเวลา
- ถังเก็บน้ำ / ถังเก็บสารเคมี ใช้ตรวจสอบและควบคุมระดับน้ำหรือของเหลว สามารถสั่งการให้วาล์วไฟฟ้าเปิด-ปิดเองได้
- ระบบบำบัดน้ำเสีย ควบคุมระดับของน้ำในถังบำบัด ป้องกันน้ำล้น ใช้ร่วมกับระบบควบคุมปั๊มและวาล์วอัตโนมัติ
- แทงก์น้ำใต้ดิน / แทงก์น้ำบนดาดฟ้า ตรวจจับระดับน้ำแล้วส่งสัญญาณให้ปั๊มน้ำทำงานหรือหยุดทำงาน ช่วยประหยัดพลังงาน และป้องกันน้ำล้นหรือน้ำแห้ง
- ระบบหล่อเย็นในอุตสาหกรรม ใช้ตรวจสอบระดับของเหลวในระบบหล่อเย็น เช่น น้ำมัน หรือสารทำความเย็นเพื่อป้องกันเครื่องจักรเสียหายจากระดับน้ำต่ำเกินไป
สวิตช์ปุ่มกด เหมาะกับงานประเภทไหนบ้าง
- งานในบ้าน ใช้กับ กริ่งประตูบ้าน กดแล้วส่งเสียงกริ่ง (ปุ่มจะคืนกลับเอง) ใช้กับ ไฟที่ต้องการเปิดชั่วคราว เช่น ไฟบันได หรือไฟทางเดินที่เปิดแป๊บเดียวแล้วดับอัตโนมัติ (ร่วมกับ timer)
- งานอุตสาหกรรม / เครื่องจักร ปุ่มสั่งเริ่มและ หยุดเครื่อง มักใช้สีเขียว (Start) และแดง (Stop) เพื่อแยกหน้าที่ใช้ในแผงควบคุม (Control Panel) สำหรับควบคุมระบบเครื่องกล ระบบอัตโนมัติ ฯลฯ Emergency Stop (E-Stop) ปุ่มใหญ่ กดครั้งเดียวหยุดทั้งระบบทันที เพื่อความปลอดภัย
- ยานยนต์และอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้เป็นปุ่มสตาร์ทรถ หรือเปิดอุปกรณ์เสริมในเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เช่น เครื่องปั่น, พัดลม, เครื่องชงกาแฟ ฯลฯ
- งานอิเล็กทรอนิกส์ / DIY ปุ่มกดเล็กๆ สำหรับทดลองวงจรหรือใช้กับ Arduino, Raspberry Pi ใช้เป็น อินพุตของระบบควบคุม เช่น การสั่งเปิด LED, มอเตอร์, เซนเซอร์
สวิตช์ใบพาย เหมาะกับงานประเภทไหนบ้าง
- ระบบตรวจวัดระดับของแข็งในถังไซโล (Bulk Solids Level Detection) ใช้ในถังเก็บวัตถุดิบ เช่น ซีเมนต์ แป้ง น้ำตาล เมล็ดพืช เมื่อลูกใบพายโดนวัสดุกลบหรือขยับไม่ได้ → สั่งหยุดการเติม และทำงานร่วมกับมอเตอร์ภายในที่หมุนใบพาย
- ระบบลำเลียงวัสดุ (Conveyor Systems) ใช้ตรวจจับการไหลของวัสดุ หรือว่าวัสดุติดขัดเมื่อวัสดุสัมผัสใบพาย → ส่งสัญญาณไปยังระบบควบคุม
- ระบบเตือนระดับเต็ม / ว่างของวัตถุดิบ เมื่อลูกใบพายไม่หมุน → แสดงว่าวัสดุสัมผัสสวิตช์แล้ว และใช้เป็นเซนเซอร์สำหรับเตือนว่าถังใกล้เต็มหรือว่าง
สวิตช์แสงแดด เหมาะกับงานประเภทไหนบ้าง
- ไฟสนาม / ไฟถนน เปิดไฟโดยอัตโนมัติเมื่อพระอาทิตย์ตก ปิดไฟตอนเช้าโดยไม่ต้องมีคนคอยเปิด-ปิด
- ไฟรั้ว / ไฟสวน / ไฟหน้าบ้าน ให้บ้านสว่างตอนกลางคืนเพื่อความปลอดภัย ช่วยประหยัดพลังงาน ไม่ลืมปิดไฟตอนเช้า
- ไฟอาคารสำนักงาน / ลานจอดรถ เพิ่มความปลอดภัยโดยอัตโนมัติใช้งานร่วมกับหลอดไฟ LED หรือระบบ Smart Lighting ได้ดี
- ไฟประดับ / ไฟตกแต่งกลางแจ้ง เปิดไฟสวยๆ ตอนกลางคืนโดยไม่ต้องตั้งเวลาเหมาะกับร้านอาหาร คาเฟ่ หรือบ้านที่ตกแต่งสวน
- งานควบคุมระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar System) ตรวจจับแสงเพื่อตั้งเวลาการชาร์จหรือใช้งานไฟจากแผงโซลาร์เซลล์
ลิมิตสวิตช์ เหมาะกับงานประเภทไหนบ้าง
- ระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ ตรวจจับตำแหน่งสุดปลายของแขนกล, ลูกสูบ, แท่นเลื่อน ฯลฯ → สั่งหยุด/ย้อนกลับ/เปลี่ยนทิศ
- ประตูอัตโนมัติ / ลิฟต์ ตรวจจับว่าประตูปิดหรือเปิดสุดหรือยัง ใช้เพื่อความปลอดภัยและ ควบคุมการทำงานต่อเนื่อง
- สายพานลำเลียง (Conveyor Systems) ตรวจสอบตำแหน่งวัตถุบนสายพานหยุดระบบเมื่อมีวัตถุถึงตำแหน่งปลาย หรือมีของติดขัด
- เครื่อง CNC / หุ่นยนต์ / แขนกล ใช้เป็นตำแหน่งอ้างอิง (Home Position)หรือใช้จำกัดการเคลื่อนที่ไม่ให้เกินระยะ
- ระบบความปลอดภัย ใช้เป็นเซนเซอร์ฉุกเฉิน เช่น ตรวจจับฝาครอบเครื่องถูกเปิด เมื่อสวิตช์ถูกปล่อย → ตัดระบบไฟทันที
สวิตช์ใบมีด เหมาะกับงานประเภทไหนบ้าง
- งานทดลองในห้องปฏิบัติการไฟฟ้า (Lab Demonstrations) ใช้สาธิตการไหลของกระแสไฟฟ้า หรือหลักการของวงจรง่ายๆ เพราะเห็นตำแหน่ง "เปิด-ปิด" ได้ชัดเจน
- งานตัดต่อวงจรที่ต้องเห็นสถานะชัดเจน ใช้ในระบบไฟบางประเภทที่ต้องการให้เห็นว่าต่อวงจรอยู่หรือไม่ เช่น ระบบไฟฟ้าเก่า หรืองานควบคุมวงจรภาคสนามบางประเภท
- ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ หรือระบบเฉพาะทาง ใช้ตัดต่อกระแสไฟฟ้าในงานที่ไม่มีกระแสสูงมากมักพบในระบบแบบเปิด (Open Switchboard) หรือแผงควบคุมแบบโบราณ
สวิตช์แรงดัน เหมาะกับงานประเภทไหนบ้าง
- ระบบปั๊มน้ำ ใช้ควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำอัตโนมัติเมื่อแรงดันน้ำลดต่ำ → สั่งให้ปั๊มทำงาน เมื่อแรงดันถึงระดับที่ตั้งไว้ → สั่งให้ปั๊มหยุด
- ระบบถังลม (Air Compressor) ตรวจสอบแรงดันในถังลม → ถ้าแรงดันสูงเกิน → หยุดคอมเพรสเซอร์ → ถ้าแรงดันลดลง → สั่งให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน
- ระบบความปลอดภัย ใช้ตัดระบบไฟเมื่อแรงดันเกินค่าความปลอดภัย เช่น ในหม้อน้ำ, หม้อต้มไอน้ำ, หรือระบบไฮดรอลิก
- งานระบบไฮดรอลิก/นิวแมติก ใช้ตรวจจับแรงดันน้ำมัน/ลมหรือแรงดันเบรก และใช้ควบคุมวาล์ว, มอเตอร์ไฮดรอลิก หรือเครื่องจักร
- ระบบอุตสาหกรรม ใช้ในเครื่องจักรที่มีการควบคุมแรงดัน เช่น เตาอบไอน้ำ, ถังแรงดัน, ระบบทำความเย็น (Chiller)
รีเลย์ เหมาะกับงานประเภทไหนบ้าง
- ระบบควบคุมไฟฟ้าในบ้านหรืออาคาร เปิด-ปิดไฟด้วยระบบควบคุม เช่น สวิตช์ Wi-Fi หรือระบบอัตโนมัติ (Smart Home) ใช้ควบคุมอุปกรณ์หลายตัวพร้อมกัน เช่น เปิดพัดลม+ไฟพร้อมกันด้วยสวิตช์เดียว
- ระบบไฟฟ้ารถยนต์ ควบคุมไฟหน้า, ไฟเลี้ยว, ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ ใช้เพราะไม่ต้องให้สวิตช์รับกระแสสูงตรงๆ → ลดความร้อนและเพิ่มอายุการใช้งาน
- ระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม ใช้ใน PLC (Programmable Logic Controller) ควบคุมเครื่องจักร ควบคุมการทำงานแบบ on/off ของมอเตอร์, วาล์ว, ไฟเตือน ฯลฯ
- ระบบควบคุมระยะไกล ควบคุมอุปกรณ์ที่อยู่ไกล เช่น เปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านสายหรืออินเทอร์เน็ตเหมาะกับระบบที่ต้องการ แยกวงจรควบคุมออกจากวงจรกำลัง
- ระบบแจ้งเตือน / ระบบความปลอดภัย ใช้เป็นตัวกลางระหว่างเซนเซอร์ (ตรวจจับควัน, ตรวจจับการเคลื่อนไหว ฯลฯ) กับอุปกรณ์สั่งงาน (ไซเรน, ไฟกระพริบ)
สวิตช์แบบหมุน เหมาะกับงานประเภทไหนบ้าง
- ระบบไฟในบ้าน ใช้ในการควบคุมการปรับระดับความสว่างของไฟ เช่น สวิตช์ปรับความสว่าง (Dimmer Switch) และใช้ใน สวิตช์ปรับอุณหภูมิ สำหรับเครื่องทำน้ำอุ่น, พัดลม, หรือเครื่องทำความร้อน
- อุปกรณ์เครื่องเสียง (Audio Equipment) ใช้ในการปรับ ระดับเสียง (Volume Control) หรือ การปรับเสียงเบส/แหลม (Tone Control) และใช้ในเครื่องขยายเสียง, วิทยุ, หรืออุปกรณ์ที่ต้องการปรับค่าต่างๆ ตามตำแหน่งหมุน
- อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ / เครื่องใช้ไฟฟ้า ใช้ใน เครื่องชงกาแฟ หรือ เครื่องปั่น สำหรับปรับระดับความเร็ว เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับปรับค่าเซ็ตติ้งต่างๆ
- ระบบอุตสาหกรรม ใช้ใน แผงควบคุมเครื่องจักร สำหรับการเลือกโหมดการทำงาน เช่น โหมดหยุด, โหมดทำงาน, โหมดทดสอบ ฯลฯ และใช้ควบคุมการตั้งค่าในเครื่องจักรที่ต้องการการเลือกค่าแบบหลายระดับ
- ยานยนต์ ใช้ในรถยนต์สำหรับการเลือกฟังก์ชันต่างๆ เช่น การเลือกความเร็วพัดลม, ระบบไฟหน้า, หรือการตั้งอุณหภูมิในรถ
- อุปกรณ์คอนโทรลสำหรับเครื่องเล่น (Gaming or Simulation Devices) ใช้ในเครื่องควบคุมที่มีฟังก์ชันหมุนหลายตำแหน่ง เช่น เครื่องเล่นเกม, เครื่องควบคุมเครื่องบินจำลอง, หรือเครื่องจักรในงานจำลองต่างๆ
หากสนใจในการสั่งชื้อ สวิตช์ ( Switch ) สามารถเช็คราคาล่าสุดที่ตรงใจและตรงต่อการนำไปใช้งานคุ้มค่ากับงบประมาณโดยการแอดไลน์ได้ที่นี่เลย @northpower หรือ คลิกสอบถามแอดมิน ที่คอยบริการให้ข้อมูลสินค้าช่วยเทียบสเปคสินค้าตั้งแต่ 8:00 - 17:00 แอดเลยไม่ต้องรอ