รีเลย์ คืออะไร มีกี่แบบ และ ทำงานยังไง?

รีเลย์ คืออะไร?

รีเลย์ คือ สวิชแบบอิเล็คโทรนิกส์ หรือ สวิชที่ใช้กระแสไฟฟ้าควบคุม โดยจะต้องมีวงจรไฟฟ้าฝั่ง Input side ไว้คอยส่งกระแสไฟฟ้าเข้าไปที่รีเลย์ ในรีเลย์จะมีขดลวด เมื่อมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงเข้าไปในขดลวด จะทำให้เกิดพลังงานแม่เหล็ก เพื่อดึงหรือพลักเพื่อให้เกิดการการตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้าฝั่ง Output Side หรือก็คือ รีเลย์ ทําหน้าที่เป็นตัวควบคุบโดยอาศัยการทำงานของวงจรฝั่ง Input Side เช่นถ้าอุณหภูมิร้อนเกิน 28 องศา ให้ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าตัวรีเลย์ เพื่อให้รีเลย์ต่อวงจรฝั่ง Output Side เพื่อเปิดแอร์ เราจึงสามารถนำรีเลย์ไปประยุกต์ใช้ ในการควบคุมวงจรต่าง ๆ ในงานช่างอิเล็กทรอนิกส์มากมาย แทนที่จะใช้สวิชเปิดปิดไปเลย

ส่วนประกอบสำคัญของรีเลย์มีดังนี้

1. ขดลวด(coil) ทำหน้าที่รับแรงดันไฟฟ้าจากวงจรตัวควบคุมหรือ controller เพื่อเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าให้เปลี่ยนเป็นพลังงานแม่เหล็กในการทำให้ดึงดูดหน้าสัมผัส(contact) ให้เปลี่ยนตำแหน่ง
2. หน้าสัมผัส(contact) ทำหน้าที่เหมือนสวิตช์ ที่กำหนด ทิศทางการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ที่เราต้องการ

รีเลย์ทำงานยังไง?

รีเลย์ มีหลักการทำงานตามรูปแบบของจุดต่อใช้งานมาตรฐาน ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ

1. จุดต่อแบบ NC (Normally Close) หรือ ปกติปิด

จุดต่อ NC ย่อมาจาก normal close หมายความว่า ปกติปิด คือ หากยังไม่มีการจ่ายไฟให้ขดลวด(coil) หน้าสัมผัสนี้จะเชื่อมต่อกับจุดต่อ C โดยทั่วไปแล้วเรามักต่อจุดนี้เข้ากับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการให้ทำงานตลอดเวลา

หากอิงตามตัวอย่างจะเห็นว่าปั้มน้ำจะปล่อยน้ำไปเรื่อยๆจนกระทั้งระดับน้ำเพิ่มสูงจนถึงจุดที่ทำให้วงจรต่อติดแล้วส่งไฟฟ้าไปที่รีเลย์ แล้วรีเลย์จึงตัดวงจรไฟฟ้าที่ไปเลี้ยงปั้ม เพื่อให้ปั้มหยุดทำงาน

2. จุดต่อแบบ NO (Normally Open) หรือ ปกติเปิด

จุดต่อ NO ย่อมาจาก normal open หมายความว่า ปกติเปิด คือ หากยังไม่มีการจ่ายไฟให้ขดลวด(coil) หน้าสัมผัสจะยังไม่เชื่อมต่อกับจุดต่อ C โดยทั่วไปแล้วเรามักต่อจุดนี้เข้ากับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการให้ทำงานในช่วงเวลาจำกัดเท่านั้น

หากอิงตามตัวอย่างจะเห็นว่าถ้าอุณหภูมิร้อนสูงขึ้นจนถึงจุดที่ Bietallic Strip งอไปแตะวงจร ทำให้ไฟฟ้าสามารถไหลไปหาตัวลีเย์ได้ ทำให้เกิดพลังแม่เหล็กทำให้อีกวงจรนึงไฟติด ทำให้พัดลมเปิด

3 แหล่งข้อมูล