เบรกเกอร์ หรือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ คืออะไร? และเบรกเกอร์ทำหน้าที่อะไร
การเกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟฟ้าโหลดเกินกำหนดนั้นอาจจะส่งผลอันตรายต่อตัวเรา และทรัพย์สิน เบรกเกอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายชนิดหนึ่ง มีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่การใช้งาน ทั้งในอาคาร บ้านเรือน หรือในอุตสาหกรรมเอง จึงต้องเลือกเบรกเกอร์ให้เหมาะสมเพื่อป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เบรกเกอร์ คืออะไร?
เบรกเกอร์ (breaker) หรือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ คือ อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันความเสียหายของวงจรไฟฟ้า ที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าเกิน หรือการลัดวงจร ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อทรัพย์สิน เบรกเกอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยป้องกัน และสร้างความปลอดภัยให้กับที่อยู่อาศัย หรืออาคารต่างๆ กระบวนการทำงานของเบรกเกอร์นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อมีความผิดปกติของวงจรไฟฟ้า เบรกเกอร์จะทำการตัดกระแสไฟฟ้าทันที ซึ่งจะแตกต่างจากฟิวส์ที่เมื่อตัดกระแสไฟฟ้าแล้วจะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เป็นฟิวส์ใหม่ นิยมใช้ทั่วไปตามบ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรม สามารถแบ่งชนิดของเบรกเกอร์ได้ ดังนี้
เบรกเกอร์มีกี่ชนิด
เบรกเกอร์ที่นิยมใช้ตามบ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรมนั้น จะนิยมใช้เบรกเกอร์ชนิดแรงดันไฟฟ้าต่ำ ส่วนมากจะติดตั้งภายในตู้คอนซูมเมอร์ ตู้ DB หรือ ตู้โหลดเซนเตอร์ แบ่งเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
-
Miniature Circuit Breakers (MCBs) : หรือที่เรียกกันว่า เบรกเกอร์ลูกย่อย ลักษณะขนาดเล็กใช้กับไฟฟ้าขนาด 1 เฟส หรือ 3 เฟส เบรกเกอร์ชนิดนี้นิยมใช้ในบ้าน หรืออาคารติดตั้งได้ทั้งตู้เซนเตอร์ และโหลดคอนซูเมอร์ มีขนาด 1-4 pole
-
Residual Current Devices (RCDs) : หรือที่เรียกกันว่า กันดูด หรือกันรั่ว เบรกเกอร์ชนิดนี้จะช่วยตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดความผิดปกติ แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
-
2.1 Residual Current Circuit Breakers With Overload (RCBO) :เป็นชนิดป้องกันไฟดูดไฟช็อต มี Circuit Breakers ในตัว สามารถตัดวงจรได้ทั้งไฟรั่ว ไฟลัดวงจร และไฟเกิน ในเบรกเกอร์ชนิดนี้จะระบุค่า KA (KA=ค่าทนการลัดวงจร) มาด้วย
-
2.2 Residual Current Circuit Breakers (RCCB) : เบรกเกอร์ชนิดนี้กันได้เฉพาะไฟรั่วเท่านั้น ต้องใช้ร่วมกับ Circuit Breakers หรือ ฟิวส์ ในเบรกเกอร์ชนิดนี้จะไม่มีค่า KA ระบุมาด้วย
-
2.3 Earth Leakege Circuit Breakers (ELCB) :เบรกเกอร์ชนิดนี้สามารถป้องกันไฟรั่ว และไฟฟ้าลัดวงจรได้ แต่ไม่สามารถป้องกันไฟเกินได้ ต้องใช้ร่วมกับ Circuit Breakers หรือ ฟิวส์ คล้ายกับ RCCB เป็นเบรกเกอร์ชนิดที่นำไปติดแยกได้โดยไม่ต้องนำไปติดในตู้คอนซูเมอร์
-
-
Moulded Case Circuit Breakers (MCCB) :ใช้กับกระแสไฟตั้งแต่ 100 แอมป์ขึ้นไปทำหน้าที่เป็นสวิชเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไฟฟ้าเกิน หรือลัดวงจร นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
-
Air Circuit Breakers (ACB) : เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ใช้กับกระแสไฟตั้งแต่ 225 แอมป์ขึ้นไปจนถึง 6300 แอมป์ ใช้เป็นเมนเบรกเกอร์มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในการตรวจจับ รวมถึงวิเคราะห์กระแสไฟ นอกจากนี้ยังตัดกระแสไฟฟ้าได้อัตโนมัติ เมื่อไฟฟ้าเกิดความผิดปกติ
การเลือกเบรกเกอร์ และการเลือกขนาดเบรกเกอร์
การเลือกเบรกเกอร์นั้นควรเลือกจาก การคำนวณโหลดทั้งหมดเพื่อหาพิกัดกระแสรวมของโหลด จากนั้นจึงเลือกขนาดของเบรกเกอร์ แต่วิธีที่นิยมใช้กันในการเลือกตัวเมนเบรกเกอร์นั้นจะเลือกจากขนาดของมิเตอร์ จากตารางด้านล่างนี้