เม็ดมีดกลึง หรือ เม็ดมีด insert คืออะไร? และปัญหาที่พบบ่อยในการใช้เม็ดมีดกลึง พร้อมแนวทางการแก้ไข

Indexable Insert

เม็ดมีดกลึง หรือ เม็ดมีด insert คืออะไร?

เม็ดมีดกลึง หรือ เม็ดมีดอินเสิร์ท คือ เครื่องมือสำหรับการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยวิธีการกลึง โดยชิ้นงานจะถูกยึดติดกับ spindle เครื่องกลึง เพื่อหมุนชิ้นงานด้วยความเร็วสูง จากนั้นใช้เม็ดมีดที่ยึดติดกับตัวยึด มากัดกลึงชิ้นงานให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการ วัสดุหลักที่นำมาใช้ทำมีดกลึง ได้แก่ เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High Carbon Steel), เหล็กกล้าความเร็วสูง (High-Speed Steel): HSS หรือเหล็กรอบสูง, โลหะผสมหล่อนอกกลุ่มเหล็ก (Cast Nonferrous Alloys), คาร์ไบต์ Carbide หรือ Cemented Carbide / Sintered Carbide, เม็ดมีดเพชร Diamond Insert, เซรามิกส์ (Ceramic Inserts)

วิธีเลือกเม็ดมีดกลึง

สิ่งที่จำเป็นจะต้องรู้ก่อนที่จะเลือกใช้เม็ดมีดกลึง ก่อนนำไปใช้งาน คือเม็ดมีดนั้นจะระบุคุณสมบัติตามตัวอักษร และตัวเลข เช่น CNMG120408ENMR ซึ่งแต่ละตัวมีจะต้องนำไปเปรียบเทียบกับ ตารางเม็ดมีดกลึง ของแต่ละแคตตาล็อค แต่การเลือกเม็ดมีดเบื้องต้น สามารถเลือกได้ ดังนี้

ตารางเม็ดมีดกลึง ISO insert designations

  • เลือกตามวัสดุของงาน เช่น เหล็ก คาร์บอน สแตนเลส หรืออัลลอย
  • เลือกตามกระบวนการตัดเฉือน เช่น งานกลึง งานกัด งานเจาะรู งานคว้าน งานเซาะร่อง
  • เลือกตามเกรดเม็ดมีดของการขึ้นงาน เช่น งานกลึงหนัก งานกลึงกระแทก หรืองานกลึงผิวสำเร็จ
  • เลือกรูปทรงของเม็ดมีดตามลักษณะการขึ้นงาน เช่น การกลึงหนัก งานกลึงกระแทก หรืองานกลึงผิวสำเร็จ

ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้เม็ดมีดกลึง และแนวทางการแก้ไข

ปัญหา ลักษณะที่พบ สาเหตุที่เป็นไปได้ แนวทางการแก้ไข

1. เม็ดมีดสึกเร็วผิดปกติ

มุมคมตัดทู่ เกิดคราบไหม้บนผิวงาน

ความเร็วตัดสูงเกินไป หรือไม่มีการหล่อเย็น

ปรับลดความเร็วตัด, ใช้สารหล่อเย็นให้เหมาะสม

2. เม็ดมีดแตกร้าวหรือบิ่น

รอยร้าวที่มุมหรือขอบเม็ดมีด

การตัดสะดุด, วัสดุแข็งเกินไป, การตั้งค่าผิดพลาด

ลดอัตราป้อน (Feed Rate), ใช้เม็ดมีดเกรดแข็งแรงขึ้น

3. ผิวงานหยาบเป็นรอยคลื่น

ผิวไม่เรียบ มีคลื่นซ้ำๆ

เม็ดมีดหลวม, ด้ามกลึงไม่มั่นคง

ตรวจสอบการจับยึดเม็ดมีด, เพิ่มความแข็งแรงของระบบ

4. เม็ดมีดหลุดจากด้ามกลึง

เม็ดมีดหล่นระหว่างงาน

ยึดไม่แน่น, สกรูล็อคหลวม

ตรวจสอบแรงขัน, เปลี่ยนสกรูใหม่ถ้าสึกหรอ

5. การสะสมเศษตัดบนเม็ดมีด

เศษโลหะติดหัวเม็ดมีด

มุมหน้าคมตัดไม่เหมาะสม, ไม่มีระบบเป่าลม/หล่อเย็น

เลือกมุมคายเศษที่ดีขึ้น, ใช้ระบบหล่อเย็น

6. การสึกหรอที่ไม่สม่ำเสมอ

ขอบเม็ดมีดด้านหนึ่งสึกมากกว่าปกติ

การตั้งมุมเครื่องมือไม่เหมาะสม

ปรับมุมเครื่องมือตามคู่มือ ISO

7. เศษตัดพันติดชิ้นงาน

เศษเป็นเส้นยาวพันรอบเพลา

อัตราป้อนต่ำ, เม็ดมีดไม่มีตัวหักเศษ

ใช้เม็ดมีดแบบมีร่องหักเศษ, เพิ่ม Feed Rate

8. เม็ดมีดแตกขณะกลึงชิ้นงานแข็ง

แตกทันทีเมื่อตัดวัสดุแข็งหรือเคลือบ

ใช้เม็ดมีดไม่ตรงกับวัสดุ, ไม่มีสารหล่อเย็น

เลือกเม็ดมีดเกรดพิเศษ เช่น CBN, PVD Coating


เคล็ดลับเพิ่มเติม

  • เปลี่ยนเม็ดมีดตาม เวลาที่เหมาะสม ไม่ควรรอจนเกิดความเสียหายกับผิวชิ้นงาน
  • ตรวจสอบการ ตั้งศูนย์เครื่องมือ ให้ตรงแนวแกนทุกครั้ง
  • ใช้ เม็ดมีดคุณภาพจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน (เช่น Sandvik, Mitsubishi, ISCAR และอื่นๆ)

หากสนใจในการสั่งชื้อ เม็ดมีดกลึง (Indexable Insert) สามารถเช็คราคาล่าสุดที่ตรงใจและตรงต่อการนำไปใช้งานคุ้มค่ากับงบประมาณโดยการแอดไลน์ได้ที่นี่เลย @northpower หรือ คลิกสอบถามแอดมิน ที่คอยบริการให้ข้อมูลสินค้าช่วยเทียบสเปคสินค้าตั้งแต่ 8:00 - 17:00 แอดได้เลย อย่ารอช้า