Gate valve คืออะไร และมีกี่แบบ ?

Gate Valve (เกทวาล์ว) หรือ วาล์วประตูน้ำ คือ วาล์วตัดตอน (ISOLATING VALVE) โดย Gate Valve ทำหน้าที่ ตัดตอน ของเหลว หรือสารไหลต่างๆที่อยู่ภายในท่อ หรือ ภายในระบบ โดยเมื่อต้องการเปิดปิดทางเดินน้ำ หรือ ของเหลวในเส้นท่อ Disk หรือ ลิ้นของเกทวาล์ว (Gate Valve) จะทำหน้าที่เลื่อนลงมาตั้งฉากกับทิศทางการไหลของของเหลว มีลิ้นปิดเหมือนประตูเลื่อนลงปิดการไหลเท่านั้น และเลื่อนลิ้นวาล์วขื้นเมื่อต้องการเปิดทางให้ของเหลวกลับมาไหลผ่านเส้นท่อดังเดิม

เกทวาล์ว มีกี่ชนิด ?

หากแบ่งวาล์วตามประเภทของลิ้น (DISK) จะแบ่งได้ทั้งหมด 4 ชนิด

  • โซลิด เวจ เกทวาล์ว (Solid Taper Wedge Gate Valve)
  • เฟลกซิเบอล์ เวจ เกทวาล์ว (Flexible Wedge Gate Valve)
  • พาราเลล สไลด์ เกทวาล์ว (Parallel Slide Gate Valve)
  • ดับเบอล์ เวจ เกทวาล์ว (Double Wedge Gate Valve)

โซลิด เวจ เกทวาล์ว (Solid Wedge Gate Valve)

มีลักษณะเป็นลิ่ม ลักษณะการทำงานของเกททวาล์วชนิดนี้คือ ไหลไม่ไหลผ่าน การไหลผ่านในขณะเปิดสุด จึงเป็นการไหลเต็มที่ (full flow) มี back seat (เวลาเปิดสุดจึงเป็นสุด packing ก็ยังไม่ได้รับความดัน) แข็งแรง

เฟล็กซิเบิล เวจ เกทวาล์ว (Flexible Wedge Gate Valve)

ลักษณะของเกทวาล์วชนิดนี้คือ ระหว่างก้านวาล์ว และตัว Disc ไม่ต่อเนื่องกันเป็นชิ้นแข็ง แต่จะให้ตัวได้หรือหลวมเล็กน้อย เพื่อให้ Disc ขยับตัวได้นั่นเอง ลักษณะนี้ทำให้ปิดได้ แน่นยิ่งขึ้น และยังลดความฝืดหรือขัดตัวขณะเปิดได้อีกด้วย

พาราเลล สไลด์ เกทวาล์ว (Parallel Slide Gate Valve)

ลักษณะของเกทวาล์วชนิดนี้คือ Disc และ Seat ทั้ง 2 ข้างขนานกัน.

ดับเบอล์ เวจ เกทวาล์ว (Double Wedge Gate Valve)

มีลักษณะเป็นแผ่น Disc อิสระ 2 แผ่น ตรงกลางลงมาต่อกันด้วย Ball Joint ลักษณะดังกล่าวทำให้ Disc ทั้ง 2 แผ่น ทำหน้าที่ Seal ได้ดีขึ้น เวลาอัดปิดรอบสุดท้าย Ball Joint จะไปบังคับให้ถ่าง Disc ออกจากกัน และ Disc แต่ละตัวจะ Seal อย่างอิสระแต่ละข้าง Seat

หากแบ่งวาล์วตามประเภทของ รูปแบบการประกอบตัวเรือนวาล์ว (BODY) เข้ากับ BONNET จะแบ่งได้ 5 แบบ

 

  • Screwed Bonnet
  • Bolted-Bonnet
  • Welded-Bonnet
  • Pressure-Seal Bonnet
  • Union Joint

Screwed Bonnet

แบบเกลียว การออกแบบด้วยการประกอบเชื่อมต่อง่ายที่สุดด้วยการกลึงเกลียวตัวผู้บนปลาย Bonnet ทั้ง 2 ด้าน โดยหมุนเกลียวเข้ากับเกลียวตัวเมียที่อยู่บนปลายด้านหนึ่งที่เป็นตัวเรือนวาล์ว ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งหมุนเกลียวเข้ากับตัวอัดประเก็นเข้ากับก้านวาล์ว

Bolted Bonnet

เป็นการประกอบตัวเรือนวาล์วกับ Bonnet ด้วยหน้าแปลนผิวหน้าสัมผัสกดอัดด้วย Bolts หรือ Studs กับ Nuts โดยมีประเก็นสอดระหว่างหน้าแปลนทั้ง 2 เพื่อป้องกันการรั่วซึมของไหล

Welded Bonnet

การประกอบตัวเรือนวาล์วเข้ากับ Bonnet ด้วยการเชื่อมโลหะปิดตายระหว่างชิ้นส่วนทั้ง 2 ไปเลย

Pressure Seal Bonnet

ออกแบบให้แรงดันภายในตัวเรือนวาล์วกับ Bonnet ดันตัว Bonnet ให้อัดเข้ากับตัวเรือนวาล์วที่อยู่เหนือขึ้นมาโดยมี Seal Ring ทำหน้าที่ซีลระหว่างตัวเรือนวาล์วกับ Bonnet ในขณะที่มี Thrust Ring ทำหน้าที่ยัน Seal Ring และมี Spacer Ring ช่วยอีกแรงหนึ่งในการป้องกัน Seal Ring เปลี่ยนรูปทรงอีกทั้งช่วยประคองหรือยัน Studs & Nuts ไม่ให้เสียแนวตรงตั้งฉาก

Union Bonet

ออกแบบการประกอบเข้าด้วยกันระหว่าง Body กับ Bonnet คล้ายกับข้อต่อ Union ของระบบท่อ โดยใช้ Union Nut ล็อกกับ Bonnet ไปขันอัดเข้ากับเกลียวตัวผู้ที่อยู่บนตัวเรือนวาล์ว