วิธีเลือกใช้ถุงมือกันบาด?

ถุงมือกันบาด (Cut Resistant Gloves) เป็นถุงมือเซฟตี้สำหรับบุคคล ใช้สวมใส่มือ เพื่อป้องกันอันตรายจากการบาดเฉือน การตัด การเจาะทะลุ หรือการขีดข่วน นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมรถยนต์ และงานก่อสร้างทั่วไป ถุงมือกันบาดมีหลากหลายชนิดในการป้องกันอันตราย เช่น ถุงมือกันลื่น ถุงมือกันกระแทก ถุงมือกันความร้อน ถุงมือกันสารเคมี เป็นต้น และเพื่อการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน จะแบ่งเป็นชนิดของถุงมือกันบาดได้ดังนี้

ชนิดของถุงมือกันบาด?

ถุงมือกันบาดเคฟล่า (Kevlar Gloves) :

เป็นถุงมือเซฟตี้ชนิดที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์กลุ่มอะรามิด มีความแข็งแรงสูง แต่มีน้ำหนักเบา ทนต่อแรงกระแทก แรงดึง ทนสารเคมี ทนการบาดและเฉือนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังทนต่ออุณภูมิสูงได้ดีอีกด้วย แต่ไม่ควรเก็บไว้ในที่ที่มีแสงแดดเพราะจะทำให้ถุงมือเปลี่ยนสี และเสื่อมสภาพได้ไว ถุงมือกันบาดเคฟล่านิยมใช้กัน ที่ระดับ 3 – 5 เหมาะสำหรับ งานอุตสาหกรรมรถยนต์ งานอุตสาหกรรมขวดแก้ว งานเครื่องจักร งานที่มีการใช้ใบมีด

ถุงมือกันบาดสแตนเลส (Stainless Steel Megh Gloves) :

เป็นถุงมือเซฟตี้ชนิดที่ผลิตจากเส้นลวดสแตนเลสเส้นเล็ก นำมาถักทอเป็นถุงมือ มีลักษณะเหมือนตาข่าย มีความแข็งแรง ทนทาน และป้องกันมือจากบาดเฉือนของคมมีดได้เป็นอย่างดี เป็นถุงมือกันบาด ระดับที่ 5 เป็นระดับสูงสุด เหมาะสำหรับ งานอุตสาหกรรมชำแหละเนื้อสัตว์ อุตสาหกรรมเสื้อผ้า อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมตัดกระดาษ หรือ งานที่สัมผัสกับของมีคม งานกรีดยางพารา เป็นต้น หลักจากการใช้งาน ควรทำความสะอาดทุกครั้ง และเป่าให้แห้งทันที ควรจัดเก็บในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศชื้นต่ำ

ถุงมือกันบาดเคลือบ PU หรือ ถุงมือ PU (High Performance Polyethylene) :

เป็นถุงมือเซฟตี้ผลิตจากเส้นด้ายที่มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา และเคลือบด้วย PU ซึ่งบริเวณที่เคลือบ PU นั้นจะมีความทนทาต่อสารเคมี น้ำมันจารบี นอกจากนี้ยังช่วยให้หยิบจับชิ้นงาน หรือวัตถุได้แม่นยำมากขึ้น เป็นถุงมือกันบาดระดับที่ 5 สามารถป้องกันการบาดเฉือนได้ในระดับสูงสุด เหมาะสำหรับ งานอุตสหกรรมเหล็กและโลหะ งานอุตสาหกรรมอลูมิเนียม งานอุตสาหกรรมกระจก งานอุตสาหกรรมออโต้พาร์ท งานอุตสาหกรรมสแตนเลส หรืองานที่ต้องสัมผัสกับของมีคม

ถุงมือกันบาดมีกี่ระดับ?

การแบ่งระดับของถุงมือกันบาดนั้น สามารถแบ่งได้ตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปได้ 2 แบบ ดังนี้

EN388 : 2003 : มาตรฐานแบบเก่า (EN388 abcd) ซึ่งจะกำกับด้วยรหัสตัวเลข 4 ตัว โดยตัวเลขแต่ละตัวจะบอกถึงการทดสอบ

  • ตัวเลขที่ 1 : การทนทานต่อแรงขัดสี
  • ตัวเลขที่ 2 : การทนทานการบาดจากของมีคม
  • ตัวเลขที่ 3 : การทนทานต่อการฉีกขาด
  • ตัวเลขที่ 4 : การทนทานต่อการเจาะทะลุ

EN388 : 2016 เป็นมาตรฐานแบบใหม่ เพิ่มรหัสมาตรฐานเดิมจาก 4 หลัก (EN388 abcd) กลายเป็น 6 หลัก (EN388 abcdef) เพิ่มการทดสอบความทนทานมาอีก 2 ประเภท ได้แก่

  • การทนต่อการบาดเฉือน TDM Test (ทดสอบตามมาตรฐาน IOS 13997) ใช้ตัวสัญลักษณ์ตัวอักษร A – F แทนค่าความทนทานเรียงตามอักษรจากน้อยไปมาก
  • การทนต่อแรงกระแทก ซึ่งจะใช้สัญลักษณ์ P แทน ได้ผ่านการทดสอบ และ F หรือ X แทน ไม่ผ่านการทดสอบหรือไม่รองรับการใช้งาน

โดยการทดสอบจะมีการแบ่งระดับประสิทธิภาพออกทั้งหมด 5 ระดับ โดยมีมีระดับ 0 เป็นระดับต่ำสุด จนถึงระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด