วิธีคำนวณค่าความปลอดภัยของลวดสลิง คิดอย่างไร?

บ่อยครั้งที่เรามักพบอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับลวดสลิงที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือ ลวดสลิงขาด เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียแก่ทรัพย์สิน และอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นเราควรคำนวณหาค่าการรับน้ำหนัก แรงดึงของลวดสลิง และค่าต่างๆ ของลวดสลิงให้ถูกต้องและแม่นยำ แต่ก่อนที่จะหาค่าความปลอดภัยนั้น ควรจะต้องรู้ก่อนว่าลวดสลิงแต่ละประเภทเหมาะสำหรับงานประเภทใดบ้าง ดังนี้

สลิง หรือลวดสลิง คืออะไร

ลวดสลิง (Wire Rope Sling) เป็นเชือกประเภทหนึ่งที่ถูกพัฒนามาจากโซ่เหล็ก และเชือกธรรมชาติเพื่อลดปัญหาการขาดของโซ่ หรือเชือกลวดสลิงนิยมใช้ในการลากรถ งานก่อสร้าง และอื่นๆ อีกมากมาย เนื่องจากคุณสมบัติในการรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดี และทนต่อสภาพอากาศ สารเคมี แรงกระแทก มีหลากหลายประเภทเพื่อรองรับการใช้งานที่เหมาะสม ดังนี้

ประเภทของลวดสลิง

ลวดสลิงสแตนเลส (Stainless Steel Wire Rope)

มีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมี และสภาพแวดล้อม มีน้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิมง่าย และมีความยืดหยุ่นสูง มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ สลิงสแตนเลส 304 ใช้งานได้ทั่วไป เช่น ทำรั้ว ทำราวบันได ทำราวกันตก ทำพวงกุญแจ ตาข่ายสวนสัตว์ แขวนป้ายเข้ากับอุปกรณ์เครื่องจักร เป็นต้น สลิงสแตนเลส 316 นำไปใช้ในอุตสาหกรรมเดินเรือ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมการแพทย์ เป็นต้น

ลวดสลิงไส้เชือก (Fiber Wire Rope)

บริเวณแกนกลางของสลิงจะเป็นเชือกที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ที่เหนียว และแข็งแรงทนทาน นิยมใช้ในงานก่อสร้างอาคาร สะพาน และสถานที่ต่างๆ เช่น ยึดเสาหรือท่อนเหล็กขณะที่เคลื่อนย้ายโดยใช้รถพ่วง เป็นต้น

ลวดสลิงไส้เหล็ก (Independent Wire Rope)

แกนกลางของสลิงผลิตจากเหล็กกล้า มีความแข็งแรงสูง สามารถยึดให้ตึงหรือบิดโค้งงอในลักษณะต่างๆ เหมาะสำหรับงานยกและงานลากที่ต้องใช้งานหนักอย่างต่อเนื่อง เช่น ยกเสาปูนในงานก่อสร้าง งานไฟฟ้า งานโทรคมนาคม ยกลิฟท์ ลากรถยนต์ เป็นต้น

ลวดสลิงหุ้มพลาสติก (PVC Wire Rope)

ตัวของลวดสลิงจะถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติก PVC/PE/PP มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพอากาศ ไม่สึกกร่อนง่าย มีความยืดหยุ่น เหมาะสำหรับงานเรือขนส่งสินค้า งานประมง ขึงแสลนทำโรงเรือนเพาะปลูก ใช้เป็นสายสัญญาณรถไฟ ใช้ทำดอกไม้ประดิษฐ์ มัดปากถุง เป็นต้น

สลิงผ้าโพลีเอสเตอร์ (Polyester Rope Sling)

มีลักษณะเป็นเชือกถักทั้งแบนและกลม มีน้ำหนักเบา ทนทานต่อแสงแดด สารเคมีและน้ำมัน ไม่นำไฟฟ้าไม่ทำให้ผิวงานชำรุดเสียหายในระหว่างการยกเคลื่อนย้าย เหมาะสำหรับยกวัสดุที่มีน้ำหนักมาก เช่น เครื่องจักร มอเตอร์ เครื่องยนต์ เป็นต้น

การคำนวณค่าความปลอดภัย

ลวดสลิงนั้นส่วนใหญ่จะใช้งานเกี่ยวข้องกับ การยก และการรับน้ำหนัก เพราะฉะนั้นเราควรที่จะคำนวณค่าความปลอดภัยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำงานโดยการคำนวณค่าความปลอดภัยก่อน ซึ่งคิดจากสูตรนี้

ค่าความปลอดภัยของลวดสลิงจะอ้างอิงจากกฎกระทรวงฯ ความปลอดภัยฯ เครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ พ.ศ. 2552 ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทตามการใช้งานของลวดสลิง คือ

    • 1. ลวดสลิงเคลื่อนที่ : ค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 6 (คือลวดสลิงที่เคลื่อนที่ขณะใช้งาน เช่น ลวดสลิงที่ตะขอยก)

  • 2. ลวดสลิงยึดโยง : ค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 3.5 (คือลวดสลิงที่มีหน้าที่ยึดโยงโครงสร้างของปั้นจั่น)