จาระบี คือ ? จาระบีมีกี่เบอร์ ? จาระบีมีกี่ชนิด?

จาระบี คือ

คือ ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นที่มีลักษณะกึ่งของแข็งและกึ่งของเหลว ใช้ในอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักรในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้รับแรงดัน แรงกระแทก และแรงเสียดสีที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น ฟันเฟือง ลูกปืน(bearing) เพลา โอริง เป็นต้น ซึ่งเป็นพาร์ทของเครื่องจักรที่ไม่สามารถใช้น้ำมันหล่อลื่นได้ เพราะอาจเกิดปัญหาเรื่องการรั่วไหล ฝุ่นหรือสิ่งสกปรกแทรกเข้าไปเจือปน จึงจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นอื่นที่มีสภาพความคงตัว มีคุณสมบัติในการจับติดขึ้นส่วนที่ต้องการได้ดีกว่าน้ำมันหล่อลื่น ซึ่งก็คือ จาระบี เลือกซื้อจาระบีกับเรา

จาระบีมีสารประกอบกี่ชนิด

จาระบี เกิดจากน้ำมันหล่อลื่นที่มีการผสมกับสารที่ทำให้ข้นเหนียว (Thickener) ให้น้ำมันมีสภาพคงตัวไม่ไหล ได้แก่ สารจำพวกสบู่ ซึ่งมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็จะให้คุณสมบัติแก่ จาระบี ที่แตกต่างกันไป ในบางครั้งมีการใช้สารอื่นๆ เช่น ดินจำพวก Colloidal Clay, ซิลิก้าเจล (Silica Gel) หรือ คาร์บอนแบล็ค (Carbon Black) แต่คุณสมบัติของจาระบีหลักๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของสบู่ สามารถแยกออกได้ดังนี้

คุณสมบัติของสบู่โลหะแต่ละชนิด

ชนิดสบู่

คุณสมบัติจาระบี

อุณหภูมิที่ใช้งาน

สบู่ไลม์ หรือสบู่แคลเซียม (Ca)

ทนน้ำดีมาก แต่ไม่ทนความร้อน

ไม่เกิน 80°C

สบู่โซเดียม (Na)

ทนความร้อน แต่ไม่ทนน้ำ

ไม่เกิน 120°C

สบู่อะลูมิเนียม

ทนน้ำ แต่ไม่ทนความร้อน

ไม่เกิน 120°C

สบู่แคลเซียมคอมเพล็กซ์

ทนน้ำ ทนความร้อน และรับแรงกดได้ดี

ไม่เกิน 180°C

สบู่ลิเทียม (Li)

ทนน้ำ และทนความร้อน

ไม่เกิน 125°C

สบู่ลิเทียมคอมเพล็กซ์

ทนน้ำ ทนความร้อน และรับแรงกดได้ดี

ไม่เกิน 180°C

คอลลอยแดลเคลย์ (Bentonite clay)

ทนน้ำ และทนความร้อนได้สูง

230 – 260°C

จาระบีมีกี่เบอร์

ความอ่อนหรือแข็งของจาระบี วัดได้โดยการปล่อยให้เครื่องมือรูปกรวยปลายแหลมจมลงในเนื้อจาระบีที่อุณหภูมิ 25°C เป็นเวลา 5 วินาที และวัดความลึกเป็น 1/10 ของมิลลิเมตร ถ้ากรวยจมลงได้ลึกมากก็แสดงว่าจาระบีอ่อนมาก สถาบันจาระบีในสหรัฐฯ (National Lubricating Grease Institute ชื่อย่อ NLGI) ได้กำหนดเบอร์ของจาระบีไว้ดังนี้

ความอ่อนแข็ง (Consistency)

เบอร์จาระบี

ระยะจมของกรวยทดสอบ 1/10 มม. ที่ 25 C

ลักษณะความเหนียวข้นที่ 25 C

000

445 – 475

ของไหล (Fluid)

00

400 – 430

กึ่งของไหล (Semi-Fluid)

0

355 – 385

เนื้ออ่อนมาก (Very Soft)

1

310 – 340

เนื้ออ่อน (Soft)

2

265 – 295

จาระบีสามัญ (Normal Grease)

3

220 – 250

เนื้อแน่น (Firm)

4

175 – 205

เนื้อแน่นมาก (Very Firm)

5

130 – 160

เนื้อแข็ง (Hard)

6

85 – 115

เนื้อแข็งมาก (Very Hard)

ตารางด้านบนจะแสดงให้เห็นว่าเมื่อเบอร์จาระบีสูงขึ้น จาระบีจะมีสภาพแข็งขึ้น ส่วนระยะจมนั้นแสดงถึงความลึกของกรวยที่จมลงในจาระบี ถ้าระยะจมมาก แสดงว่าจาระบีมีสภาพอ่อนนิ่มกว่าระยะจมน้อย ความอ่อนแข็งของจาระบีขึ้นกับเปอร์เซนต์ของสบู่และความหนืดของน้ำมันพื้นฐาน

การเลือกใช้จารบี

การเลือกใช้งานที่ดีต้องดูจากสองอย่างคือ

เลือกตามค่าความหนืด

  • จาระบีเบอร์ 0 หรือ 1 ใช้สำหรับระบบจุดจ่ายจาระบีแบบรวมศูนย์กลาง หรือ Centralized System ที่มีการใช้ปั๊มจ่ายจาระบีไปยังจุดหล่อลื่นต่างๆ ด้วยเนื้อที่เหลวจะสามารถจ่ายจาระบีออกไปได้ง่าย
  • จาระบีเบอร์ 2 เป็นจาระบีเกรดสามัญที่มักเลือกใช้กันมากที่สุดในการหล่อลื่นแบริ่งเครื่องจักรกลต่างๆ เพราะมีลักษณะที่ไม่เหลวเกินไป และเนื้อไม่แน่นจนเกินไป
  • จาระบีเบอร์ 3 เนื้อจาระบีมีความแน่นกว่าเบอร์ 2 มักจะใช้ในงานที่มีความเร็วรอบสูง อุณหภูมิต่ำ
  • จาระบีเบอร์ 2-3 หรือแข็งกว่า ใช้กับการใช้การอัดด้วยมือ หรือปืนอัด
  • จาระบีเบอร์อะไรก็ได้ ถ้าใช้วิธีการป้ายหรือทาด้วยมือ เพราะความเหนียวข้นจะไม่ค่อยมีผลต่อการทำงานมากนัก

เลือกตามลักษะดารใช้งาน

  • สัมผัสกับน้ำและความชื้นหรือไม่ ถ้าสัมผัสหรือเกี่ยวข้องต้องเลือกใช้จาระบีประเภททนน้ำ ถ้าเลือกใช้ผิดประเภท จาระบีจะถูกดูดความชื้นหรือน้ำชะล้าง ทำให้เยิ้มหลุดออกจากจุดหล่อลื่นได้
  • อุณหภูมิใช้งานสูงมากน้อยแค่ไหน จุดใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่า 80๐C ควรเลือกใช้จาระบีประเภททนความร้อน ถ้าเลือกใช้ไม่ถูกต้อง จาระบีจะเยิ้มเหลวทะลักออกมาจากจุดหล่อลื่น
  • ในกรณีที่สัมผัสทั้งน้ำและความร้อน ควรเลือกใช้จาระบีประเภทอเนกประสงค์(Multipurpose) คุณภาพดี หรือจาระบีคอมเพล็กซ์ (Complex) ซึ่งราคาย่อมแพงกว่าจาระบีประเภททนน้ำ หรือความร้อนเพียงอย่างเดียว
  • จมีแรงกดแรงกระแทกระหว่างการใช้งาน ถ้ามีมากควรพิจารณาเลือกใช้จาระบีประเภทผสมสารรับแรงกดแรงกระแทก (EP Additives)